เหรียญ 25 พุทธศตวรรษ เนื้อชิน พิมพ์นิยมมีเข็ม ปี 2500
|
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
ส่งข้อความ
|
||||||||||||||||
ชื่อร้านค้า
|
บอล คำแคน ขอนแก่น | |||||||||||||||
โดย
|
nattapong939 | |||||||||||||||
ประเภทพระเครื่อง
|
พระเกจิทั่วไป | |||||||||||||||
ชื่อพระ
|
เหรียญ 25 พุทธศตวรรษ เนื้อชิน พิมพ์นิยมมีเข็ม ปี 2500 |
|||||||||||||||
รายละเอียด
|
เหรียญ 25 พุทธศตวรรษ เนื้อชิน หรือ ตะกั่ว พิมพ์ มีเข็ม นิยมสุดๆ ระลีลา 25 พุทธศตวรรษ เนื้อชินตะกั่ว แบ่งแยกย่อยได้ตามนี้ 1. พิมพ์ธรรมดา ไม่มีเข็ม1.1 พิมพ์เม็ดพระศกชัด1.2 พิมพ์เม็ดพระศกไม่ชัด1.3 พิมพ์เลี่ยมเดิมข้อเท้าตุ่ม(นิยมมาก หายาก) ที่ตรงข้อเท้าหน้า จะมีเม็ดนูนเห็นได้ชัด 2. พิมพ์นิยม มีเข็ม(เข็มตรง) 2.1 พิมพ์สวมรองเท้าบู๊ต(นิยมมาก หายาก)ที่ตรงเท้าหน้า จะอูมหนา นิ้วเท้ามักจะติดไม่ชัด บางองค์เท้าอูมหนามากจนไม่มีเส้นแตกที่ส้นเท้า ให้ดูจุดตายที่กลางฝ่าเท้าแทน เพราะจะมีเส้นขีดลงมาจากกลางฝ่าเท้าหน้า2.2 พิมพ์เม็ดพระศกชัด(นิยม พอหาได้)2.3 พิมพ์เม็ดพระศกไม่ชัด(นิยม หาง่าย) 3. พิมพ์นิยม มีเข็ม(เข็มขวาง)3.1 พิมพ์เม็ดพระศกชัด(นิยมมาก หายาก)3.2 พิมพ์เม็ดพระศกไม่ชัด(นิยมมาก หายาก) 4. พิมพ์ธรรมดา ไม่มีเข็ม เลี่ยมเดิม4.1 พิมพ์เลี่ยมเดิมเลี่ยมทองเหลือง(นิยม หายาก)4.2 พิมพ์เลี่ยมเดิมเลี่ยมดีบุก(นิยม หายาก)4.3 พิมพ์เลี่ยมเดิมข้อเท้าตุ่ม(นิยมมาก หายาก) ที่ตรงข้อเท้าหน้า จะมีเม็ดนูนเห็นได้ชัด 5. พิมพ์นิยม มีเข็ม เลี่ยมเดิม5.1 พิมพ์เลี่ยมเดิมเลี่ยมทองเหลือง(นิยมมาก หายาก)5.2 พิมพ์เลี่ยมเดิมเลี่ยมดีบุก(นิยมมาก หายาก) พิธีพุทธาภิเษกพระเครื่องที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเมืองไทยและเป็นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกด้วยและนอกจากนี้ยังได้มีการสร้างพระพุทธลีลา สูง 2,500 นิ้ว (62.50 ม.) บนเนื้อที่ 2,500 ไร่ ที่ตำบลศาลายา อ.นครปฐม(พุทธมณฑลปัจจุบัน) กับได้สร้าง พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ ทั้งหลายขึ้น โดยมี พล.อ. เผ่า ศรียานนท์ เป็นประธานกรรมการจัดสร้างพระเนื้อชิน มีส่วนผสมของโลหะต่างๆอันประกอบด้วย พลวง, ดีบุก, ตะกั่วดำผสมด้วยนวโลหะ คือ ชินหนัก 1 บาท ,เจ้าน้ำเงินหนัก 2 บาท ,เหล็กละลายตัวหนัก 3 บาท เหล็กบริสุทธิ์ หลัก 4 บาท ,ปรอท หนัก5 บาท ,สังกะสีหนัก 6 บาท ทองแดงหนัก 7 บาท ,เงินหนัก 8 บาท, ทองคำหนัก 9 บาท, ตลอดจนแผ่นทองแดง,ตะกั่ว,เงินที่พระอาจารย์ต่างๆ เกือบทั้งราชอาณาจักร ได้ลงเลขยันต์คาถาส่งมาให้และเศษชนวนหล่อพระในพิธีแห่งอื่นๆ รวมหล่อผสมลงไปในคราวนี้ด้วย จำนวนจัดสร้าง 2,421,250 องค์ ด้านหน้าเหรียญเป็นรูป พระศรีทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทัศน์ ด้านหลัง ประกอบด้วยยันต์มะอะอุ ซึ่งก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา และ ยันต์ อิสวาสุ คือ หัวใจพระรัตนตรัย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ มีด้วยกัน 3 ชนิด คือ 1.พระเครื่องเนื้อทองคำแท้.....สร้างเพียง 2,500 องค์ 2.พระเครื่องเนื้อชิน .....สร้างเพียง 2,421,250 องค์ 3.พระเครื่องเนื้อดิน .....สร้างเพียง 2,421,250 องค์ 4.พระเครื่องชนิดเหรียญนิกเกิล .....สร้างเพียง 2,000,000 เหรียญ การสร้างพระเครื่องนี้ ได้ลงมือทำพิธีปลุกเสกสรรพสิ่งตลอด 3 วัน 3 คืน ในพระอุโบสถวัดสุทัศน์เทพวราราม ราชวรมหาวิหาร มีสมเด็จพระราชาคณะ , เจริญพระพุทธมนต์ 25 รูป พระคณาจารย์ปลุกเสก บรรจุพุทธาคมครบ 108 รูป พระคณาจารย์ 108 รูปนี้ได้อาราธนามาจากจังหวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร ดังมีรายชื่อพระคณาจารย์ ดังต่อไปนี้.......... 1. พระครูอาคมสุนทร(มา) อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร .....2. พระครูสุนทรสมาธิวัตร อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร .....3. พระญาณาภิรัต อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร .....4. พระครูพิบูลย์บรรณวัตร อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร .....5. พระครูสุนทรศีลาจารย์ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร .....6. พระครูพิศาลสรกิจ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร .....7. พระมหาสวน อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร .....8. พระอำนวย อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร .....9. พระปลัดสุพจน์ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร 10. พระครูวิสิษฐ์วิหารการ อ.พระนคร วัดชนะสงคราม จ.พระนคร .....11. พระสุธรรมธีรคุณ (หลวงพ่อวงษ์) วัดสระเกศ จ.พระนคร 12. พระอาจารย์สา อ.พระนคร วัดชนัดดาราม จ.พระนคร 13. พระปลัดแพง อ.พระนคร วัดมหาธาตุฯ จ.พระนคร 14. พระวิสุทธิสมโพธิ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร 15. พระวรเวทย์คุณาจารย์ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร 16. พระครูฐาปนกิจประสาท อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร 17. พระอินทรสมาจารย์ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร 18. พระครูวินัยธร (เฟื่อง) อ.พระนคร วัดสัมพันธ์วงศ์ จ.พระนคร 19. พระครูภักดิ์ อ.พระโขนง วัดบึงทองหลาง จ.พระนคร 20. พระครูกัลญาณวิสุทธิ (หลวงพ่อกึ๋น) อ.ยานนาวา วัดดอนทวาย จ.พระนคร .....21. พระอาจารย์มี อ.ยานนาวา วัดสวนพลู จ.พระนคร .....22. พระอาจารย์เหมือน อ.บางเขม วัดโรงหีบ จ.พระนคร .....23. พระหลวงวิจิตร อ.ดุสิต วัดสะพานสูง จ.พระนคร .....24. พระอาจารย์หุ่น อ.มีนบุรี วัดบางขวด จ.พระนคร .....25. พระราชโมลี อ.บางกอกน้อย วัดระฆัง จ.ธนบุรี 26. หลวงวิชิตชโสธร วัดสันติธรรมาราม จ.ธนบุรี .....27. พรครูโสภณกัลญานุวัตร (เส่ง) วัดกัลญาณมิตร จ.ธนบุรี .....28. พระครูภาวนาภิรัต (ผล) อ.บางขุนเทียน วัดหนัง จ. ธนบุรี .....29. พระครูทิวากรคุณ (กลีบ) อ.ตลิ่งชัน วัดตลิ่งชัน จ.ธนบุรี 30. พระครูไพโรจน์วุฒิคุณ (ไพฑูรย์) วัดโพธินิมิตร จ.ธนบุรี 31. พระครูญาณสิทธิ์ อ.ตลิ่งชัน วัดราชสิทธาราม จ.ธนบุรี 32. พระอาจารย์มา อ.ตลิ่งชัน วัดราชสิทธาราม จ.ธนบุรี 33. พระอาจารย์หวน อ.ตลิ่งชัน วัดพิกุล จ.ธนบุรี 34. พระมหาธีวัฒน์ อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี 35. พระอาจารย์จ้าย อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี 36. พระอาจารย์อินทร์ อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี 37. พระครูกิจจาภิรมย์ อ.บางกอกใหญ่ วัดอรุณราชวราราม จ.ธนบุรี 38. พระครูวินัยสังวร อ.ธนบุรี วัดประยูรวงศวาส จ.ธนบุรี 39. พระสุขุมธรรมาจารย์ อ.ธนบุรี วัดหงษ์รัตนราม จ.ธนบุรี 40. พระครูพรหมวินิต อ.ธนบุรี วัดหงษ์รัตนาราม จ.ธนบุรี 41. พระอาจารย์อิน อ.คลองสาน วัดสุวรรณอุบาสิการ จ.ธนบุรี 42. พระครูวิริยกิจ อ.คลองสาน วัดประดู่ฉิมพลี จ.ธนบุรี 43. พระปรีชานนทมุนี อ.บางบัวทอง วัดโมลี จ.นนทบุรี 44. พระครูปลัดแฉ่ง (หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง) อ.ปากเกร็ด วัดศรีรัตนาราม จ.นนทบุรี 45. พระปลัดยัง (หลวงพ่อยัง) อ.ปากเกร็ด วัดบางจาก จ.นนทบุรี 46. พระอาจารย์สมจิต วัดป่ากระเหรี่ยง จ.ราชบุรี 47. พระอาจารย์แทน อ.เมือง วัดธรรมเสน จ.ราชบุรี 48. พระครูบิน อ.บางแพ วัดแก้ว จ.ราชบุรี 49. พระอินทร์เขมาจารย์ (หลวงพ่อเปาะ) อ.เมือง วัดช่องลม จ.ราชบุรี 50. พระธรรมวาทีคณาจารย์(หลวงพ่อเงิน) อ.เมือง วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม 51. พระครูสังฆวิชัย วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม 52. พระอาจารย์สำเนียง อ.บางเลน วัดเวทุนาราม จ.นครปฐม 53. พระอาจารย์เต๋(หลวงพ่อเต๋) อ.กำแพงแสน วัดสามง่าม จ.นครปฐม 54. พระอาจารย์แปลก อ.เมือง วัดสระบัว จ.ปทุมธานี 55. พระครูปลัดทุ่ง อ.เมือง วัดเทียมถวาย จ.ปทุมธานี 56. พระครูบวรธรรมกิจ(เทียน) อ.เมือง วัดโบสถ์ จ.ปทุมธานี 57. พระครูโสภณสมาจารย์(เหรียญ) อ.เมือง วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี 58. พระครูวิสุทธิรังษี(เปลี่ยน) อ.เมือง วัดเหนือ จ.กาญจนบุรี 59. พระมุจจรินโมฬี (หลวงพ่อดำ) อ.หนองจิก วัดมุจจริน จ.ปัตตานี 60. พระครูรอด อ.เมือง วัดประดู่ จ.นครศรีธรรมราช 61. พระครูวิศิษฐ์อรรถการ (หลวงพ่อคล้าย) อ.ฉวาง วัดสวนขวัญ จ.นครศรีธรรมราช 62. พระครูสิทธิธรรมาจารย์ (พระอาจารย์ลี) อ.เมือง วัดโศกการาม จ.สมุทรปราการ 63. พระอาจารย์บุตร อ.เมือง วัดใหม่บางปลากด จ.สมุทรปราการ 64. พระอาจารย์แสวง อ.พระประแกง วัดกลางสวน จ.สมุทรปราการ 65. พระครูศิริสรคุณ(หลวงพ่อแดง) อ.เมือง วัดท้ายหาด จ.สมุทรสงคราม 66. พระครูสมุทรสุนทร (แขก) อ.เมือง วัดพวงมาลัย จ.สมุทรสงคราม 67. พระสุทธิสารวุฒาจารย์(หลวงปู่ใจ) อ.อัมพวา วัดเสด็จ จ.สมุทรสงคราม 68. พระอาจารย์อ๊วง อ.อันพวา วัดบางคณาทอง จ.สมุทรสงคราม 69. พระครูไพโรจน์วุฒาจารย์ (รุ่ง) อ.กระทุ่มแบน วัดท่ากระบือ จ.สมุทรสาคร 70. พระครูวิเศษสมุทรคุณ(หลวงปู่ฮะ) อ.กระทุ่มแบน วัดดอนไก่ดี จ.สมุทรสาคร 71. พระครูสักขิตวันมุนี อ.เมือง วัดป่าเลไลย์ จ.สุพรรณบุรี 72. พระอาจาย์แต้ม อ.เมือง วัดพระลอย จ.สุพรรณบุรี 73. พระครูโฆษิตธรรมสาร (ครื้น) อ.เมือง วัดสังโฆ จ.สุพรรณบุรี 74. พระครูวรกิจวินิจฉัย (พริ้ง) อ.เมือง วัดวรจันทร์ จ.สุพรรณบุรี 75. พระครูสำฤทธิ์ (เอี้ยง) อ.เมือง วัดอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี 76. พระวรพจน์ปัญญาจารย์ (หลวงปู่เฮี้ยง) อ.เมือง วัดอรัญญิการาม จ.ชลบุรี 77. พระครูธรรมาวุฒิคุณ อ.เมือง วัดเสม็ด จ.ชลบุรี 78. พระครูธรรมธร (หลาย) อ.เมือง วัดราศฎร์บำรุง จ.ชลบุรี 79. พระอาจารย์บุญมี อ.บางละมุง วัดโพธิ์สัมพันธ์ จ.ชลบุรี 80. พระพรหมนคราจารย์ (หลวงพ่อโต) อ.พรหมบุรี วัดแจ้งพรหมนคร จ.สิงห์บุรี 81. พระครูศรีพรหมโศกิต (หลวงพ่อแพ) อ.พรหมบุรี วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี 82. พระชัยนาทมุนี(หลวงพ่อหรุ่น) อ.เมือง วัดบรมธาตุ จ.ชัยนาท 83. พระอาจารย์หอม (หลวงพ่อหอม) อ.เมือง วัดชากหมาก จ.ระยอง 84. พระอาจารย์เมือง อ.แม่ทา วัดท่าแพ จ.ลำปาง 85. พระครูอุทัยธรรมธารี(หลวงพ่อเส็ง) อ.เมือง วัดท้าวอู่ทอง จ.ปราจีนบุรี 86. พระครูวิมลศีลจารย์ อ.ประจันตคาม วัดศรีประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี 87. พระครูสนุทรธรรมประกาศ อ.ปากพลี วัดโพธิ์ปากพลี จ.นครนายก 88. พระครูบาวัง อ.เมือง วัดบ้านเด่น จ.ตาก 89. พระครูสวรรควิริยกิจ อ.เมือง วัดสวรรคนิเวส จ.แพร่ 90. พระครูจันทร (หลวงพ่อจันทร์) อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ วัดคลองระนงค์ 91. พระครูสีลกิติคุณ (อั้น) วัดพระญาติฯ อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา 92. พระอาจารย์แจ่ม วัดวังแดงเหนือ อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา 93. พระครูเล็ก วัดบางนมโค อ.เสนา จ.อยุธยา 94. พระอาจารย์มี วัดอินทราราม อ.เสนา จ.อยุธยา 95. พระอาจารย์หวาน วัดดอกไม้ อ.บางปะหัน จ.อยุธยา 96. พระอาจารย์หน่าย วัดบ้านแจ้ง อ.บางปะหัน จ.อยุธยา 97. พระครูประสาทวิทยาคม (นอ) วัดกลาง อ.ท่าเรือ จ.อยุธยา 98. พระอาจารย์จง (หลวงพ่อจง) วัดหน้าต่างนอก อ.บางไพร จ.อยุธยา 99. พระอธิการเจาะ วัดประตูโลกเชษฐ์ อ.เสนา จ.อยุธยา 100. พระอาจารย์ศรี วัดสะแก อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา 101. พระสุวรรณมุนี (ชิต) วัดมหาธาตุ อ.เมือง จ.อยุธยา 102. พระครูพินิจสุตคุณ (ทองศุข) วัดโตนดหลวง อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี 103. พระครูพิบูลย์ศีลาจารย์ (หลวงพ่อผิน) วัดโพธิ์กรุ อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี 104. พระครูทบ (หลวงพ่อทบ) วัดส่วางอรุณ อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์ 105. พระสวรรคนายก วัดสุวรรคคาราม อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย 106. พระโบราณวัตถาจารย์(ทิม) วัดราชธานี จ.สุโขทัย 107. พระครูปี้ วัดกิ่งลานหอย กิ่ง อ.บ้านด่านลานหอย จ.สุโขทัย 108. พระครูวิบูลย์สมุทร(หลวงปู่ทองดี) วัดเสด็จ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐ เวลา ๑๖.๓๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมายังพระวิหารหลวง วัดสุทัศน์เทพวรารามราชวรมหา วิหาร ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชา พระศรีศากยมุนีเสร็จแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปยังมณฑลพิธีหน้าพระอุโบสถ ทรงเททองหล่อ “พระพุทธรูปทองคำ” จำนวน ๔ องค์ และทรงกดพิมพ์พระเครื่องฯ “๒๕ พุทธศตวรรษ” เนื้อดินจำนวน ๓๐ องค์ เป็นปฐมฤกษ์แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับเข้าสู่พระอุโบสถ สมเด็จพระราชาคณะ และพระราชาคณะ ถวายอดิเรกจบแล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับ ส่วนพระเกจิอาจารย์ในจำนวน ๑๐๘ รูป เข้าสู่มณฑลพิธีนั่งปรกปลุกบรรจุพุทธาคมลงในสรรพวัตถุและมวลสารต่อไปจนตลอดคืน พิธีปลุกเสกครั้งที่สอง...ได้ทำพิธี ณ วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ หลังจากพระเครื่องทั้งหมดได้สร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว เมื่อวันที่ ๒, ๓, ๔ พฤษภาคม ๒๕๐๐ เป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน ประกอบด้วยเกจิอาจารย์ชั้นนำในยุคนั้นอีก ๑๐๘ องค์ เช่น “หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน หลวงพ่อเทียน วัดโบสถ์ หลวงพ่อครื้น วัดสังโฆ หลวงพ่อนาค วัดระฆัง หลวงพ่อดี วัดเหนือ หลวงพ่อใจ วัดเสด็จ หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง หลวงพ่อแทน วัดธรรมเสน หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม” เป็นต้นเหตุการณ์สำคัญแห่งประวัติศาสตร์ 1. มีการชุมนุมสงฆ์ทุกนิกายมากที่สุด เพื่อร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษก 2. มีประมุขฝ่ายอาณาจักรและศาสนจักรเสด็จร่วมพิธี 3. รัฐบาลและพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศหลอมรวมใจเป็นหนึ่งเดียวในการจัดสร้าง 4. พิธีพุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในสมัยกรุงรัตน์โกสินทร์เป็นราชธานี 5. ตะกรุดมวลสารบางส่วนไม่ละลายในเบ้าหลอม 6. แผ่นยันต์เนื้อโลหะไม่จมในน้ำมนต์ 7. สายสิญจน์ไม่ไหม้ไฟ 8. ปรากฏเสียงเคลื่อนตัวของวัตถุมงคลขณะพุทธาภิเษก 9. มีความใกล้ชิดสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะมวลสารส่วนหนึ่งอัญเชิญมาจากสังเวชนียสถาน 10. มีผู้นำน้ำมนต์ในพิธีไปใช้แล้วประสบพระพุทธคุณ พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษเป็นพระเครื่องที่มีพุทธคุณสูง และก็มีประสบการณ์ ชัดเจนมากที่สุด ซึ่งเป็นที่ยอมรับของคนไทยและนักเล่นพระกันดีทุกคน จะเรียกว่าพระหลักร้อยแต่พุทธคุณหลักล้านก็ว่าได้ ซึ่งจากประสบการณ์ที่สูงเด่นเช่นนี้ จึงทำให้นักเล่นพระระดับเซียนหลายคนต้องอารธนาพระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษขึ้นคออย่างไม่อายพระ 25 พุทธศตวรรษ พระยอดนิยมของวงการพระเครื่อง ถูกบรรจุอยู่ในรายการประกวดพระเครื่องทุกครั้ง ประสบการณ์เกิดขึ้นต่างๆมากมายนับไม่ถ้วน ในอดีตเป็นพระดี ราคาถูก แต่ปัจจุบันราคาปรับตัวขึ้นสูงและแทบจะไม่พบเห็นตามตลาดพระเครื่องเลยก็ว่า ได้ มีแต่พระเก๊ ราคาแพง พระแท้ๆนับวันจะหายากขึ้นทุกที นับเป็นพระเครื่องที่น่าสะสมและน่าบูชาเป็นอย่างยิ่ง |
|||||||||||||||
ราคา
|
6,500 บาท พร้อมส่งครับ | |||||||||||||||
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
|
0652369939 | |||||||||||||||
ID LINE
|
@ball595 | |||||||||||||||
จำนวนการเข้าชม
|
12,379 ครั้ง | |||||||||||||||
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
|
ยังไม่ส่งข้อมูล
|
|||||||||||||||
|